ความเสี่ยงอาการ “ฟันกร่อน” จากการว่ายน้ำอาจเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนคาดไม่ถึงและงุนงงว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้ค่ะ

ฟันกร่อนเกี่ยวอะไรกับการว่ายน้ำ

ภาวะฟันสึกกร่อน คือการที่เนื้อฟันสูญเสียไปเพราะกระบวนการเคมี ส่วนใหญ่มักเกิดจากการกินอาหารรสเปรี้ยวหรือเครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลมซึ่งมีความเป็นกรดสูงนั่นเองค่ะ แต่ภาวะฟันกร่อนที่เกิดจากการว่ายน้ำนั้นมีสาเหตุเนื่องมาจากการให้เจ้าตัวเล็กว่ายน้ำในสระที่ค่าความสมดุลของน้ำไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง ซึ่งค่าความสมดุลน้ำในสระควรมีค่ากรดด่าง (pH) อยู่ในช่วง 7.2 – 8.4 ทั้งสระระบบคลอรีนและสระระบบน้ำเกลือ หากเจ้าตัวเล็กว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นประจำก็มีความเสี่ยงต่อภาวะฟันกร่อนได้นั่นเอง

สระว่ายน้ำระบบคลอรีน คือสระว่ายน้ำปกติทั่วไปที่มีการใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคและช่วยให้น้ำใส ซึ่งคลอรีนที่ใส่จะมีสภาพเป็นกรดค่ะ

สระว่ายน้ำระบบเกลือ
เป็นสระที่สร้างสารคลอรีนจากเกลือด้วยประจุไฟฟ้า ซึ่งสระระบบเกลือนี้จะดีต่อเจ้าตัวเล็กเนื่องจากไม่ระคายเคืองผิว ไม่แสบตา และไม่ทำให้เส้นผมหยาบกระด้างด้วยค่ะ

วิธีป้องกัน “ฟันกร่อน” จากการว่ายน้ำ

  1. วิธีป้องกันที่ดีที่สุดและเป็นวิธีแรกที่เราขอแนะนำคือ ควรเลือกใช้บริการสระน้ำเกลือสำหรับเด็กโดยเฉพาะ และเลือกสระที่ได้มาตรฐานและมีการรับรองคุณภาพการตรวจค่าน้ำจากห้องแลป
  2. หากสระที่เจ้าหนูว่ายน้ำเป็นสระระบบคลอรีน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องไปขอคำแนะนำจากหมอฟันเพื่อทำเฝือกยางครอบฟันขณะว่ายน้ำให้ลูก ป้องกันไม่ให้ฟันสัมผัสกับน้ำมากเกินไปค่ะ
  3. การว่ายน้ำในสระคลอรีนควรให้ลูกอมน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์หลังว่ายน้ำ และอย่าเพิ่งให้แปรงฟัน เคี้ยวอาหารกรอบแข็ง หรือดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรดทันทีหลังจากว่ายน้ำเสร็จนะคะ เพราะจะยิ่งทำให้ฟันสึกกร่อนมากขึ้น รอประมาณ 1-2 ชั่วโมงค่อยให้ลูกหม่ำดีกว่าค่ะ

ทั้งนี้ การป้องกันโดยทำเฝือกครอบฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์นั้น เหมาะสำหรับลูกรักวัย 7 ขวบขึ้นไปนะคะ หากลูกอายุน้อยกว่านั้นการเลือกสระระบบน้ำเกลือยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ควรพาลูกรักไปพบหมอฟันเป็นประจำทุก 3-6 เดือน เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพฟันอย่างถูกวิธีนะคะ

อย่างไรก็ตาม สระว่ายน้ำบางแห่ง อาจไม่ได้รับการควบคุมดูแลเรื่องค่า pH อย่างเข้มงวด และมีสภาพเป็นกรดที่ pH ต่ำกว่า 5.0 จะทำให้ผิวเคลือบฟันเริ่มอ่อนยุ่ย และค่อยๆสึกหายไปทีละน้อยได้ ดังจะเห็นได้จากภาพรูปตัดของฟัน ชั้น Enamel เป็นผิวเคลือบฟันชั้นนอกสุด มีสีขาวใส ทนภาวะความเป็นกรดได้ที่ pH ไม่ต่ำกว่า 5.0 เมื่อผิวเคลือบฟันสัมผัสกับกรดที่ pH ต่ำกว่า 5.0 บ่อยๆ ผิวเคลือบฟันก็สึกกร่อนและบางลง ก็เข้าใกล้ชั้นเนื้อฟันซึ่งเชื่อมต่อกับปลายประสาทฟันมากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการเสียวฟันขึ้น นอกจากนี้ ชั้นเนื้อฟันยังมีสีเหลือง จึงเห็นสีของชั้นเนื้อฟันเห็นเป็นฟันสีเหลืองมากขึ้น เหตุการณ์นี้จะเกิดได้ง่ายกับเด็กที่ฟันหน้าแท้เพิ่งขึ้นใหม่ เพราะฟันที่ขึ้นใหม่ๆ ผิวเคลือบฟันยังไม่แข็งแรงนัก ทนต่อภาวะเป็นกรดได้ไม่ดีเท่าฟันที่ขึ้นในช่องปากมานานแล้ว สภาพฟันหน้าที่สึกกร่อนด้านหน้า ผิวฟันจะดูด้าน ไม่เงางาม และมีคราบสีติดได้ง่าย แปรงออกยาก และมักมีอาการเสียวฟัน ทำให้ไม่ค่อยอยากแปรงเท่าไรนัก

คำแนะนำ

  • ควรมีการควบคุมดูแลค่า pH ของน้ำ ไม่ให้ต่ำกว่า 5.0
  • ควรบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์ทันที หลังขึ้นจากสระว่ายน้ำ
  • ภายใน 30 นาที หลังขึ้นจากสระ ห้ามแปรงฟัน
  • เลี่ยงอาหารที่เป็นกรด เช่น น้ำอัดลม และเลี่ยงอาหารแข็ง
  • สวม Mouth guard ทุกครั้งที่ลงสระ เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสัมผัสกับน้ำมากนัก
  • หากเสียวฟันมาก ควรปรึกษาทันตแพทย์
  • Veneer placing ในการรักษาฟันที่สึกกร่อน และเสียวฟัน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการเสียวฟัน และผิวเคลือบฟันที่สูญเสียไป อาจทำตั้งแต่การใช้ฟลูออไรด์เข้มข้นเคลือบฟัน ใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน ใช้ tooth mousse หรือใช้ยาทาแก้เสียวฟันไปจนถึงการทำ veneer ปิดหน้าฟันที่หายไป เพื่อช่วยหยุดยั้งการสึกกร่อนของผิวเคลือบฟันได้ด้วย

🌐 babyswimmingthailand.com

✨มาร่วมมอบของขวัญล้ำค่าที่จะติดตัวลูกของคุณไปตลอดชีวิตกับ BABY SWIMMING โรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็กแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 และได้รับความไว้วางใจจากโรงพยาบาลชั้นนำ 🇹🇭💯🏆🎉😊🙏🏻✨

✨”BABY SWIMMING, A Precious Gift for Your Kids” 🐳 🏊🏻 💦 💙 🎁 ✨

#babyswimming #สอนว่ายน้ำเด็ก #เรียนว่ายน้ำเด็ก #สระว่ายน้ำเด็ก #โรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็ก #สระน้ำอุ่น #สระในร่ม

Share this